เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [2. เทวปุตตสังยุต]
2.อนาถปิณฑิกวรรค 3. ทีฆลัฏฐิสูตร

2. เวณฑุสูตร
ว่าด้วยเวณฑุเทพบุตร

[93] เวณฑุเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดนั่งใกล้พระสุคต
มอบตนไว้ในศาสนาของพระโคดม
ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่
ชนเหล่านั้นถึงความสุขแล้วจริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (เวณฑุ)
ชนเหล่าใดเป็นผู้เพ่งพินิจ
ตามศึกษาในบทคำสอนที่เรากล่าวไว้แล้ว
ชนเหล่านั้นไม่ประมาทตลอดเวลา
ไม่พึงไปสู่อำนาจแห่งมัจจุ

เวณฑุสูตรที่ 2 จบ

3. ทีฆลัฏฐิสูตร
ว่าด้วยทีฆลัฏฐิเทพบุตร

[94] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ทีฆลัฏฐิเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเวฬุวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :100 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [2. เทวปุตตสังยุต]
2. อนาถปิณฑิกวรรค 4. นันทนสูตร

ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ
มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์
เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น
รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก
มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย1

ทีฆลัฏฐิสูตรที่ 3 จบ

4. นันทนสูตร
ว่าด้วยนันทนเทพบุตร

[95] นันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระโคดม ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ถึงญาณทัสสนะ2
อันไม่มีสิ่งใดขวางกั้นของพระผู้มีพระภาค
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคล
ประเภทใดว่าเป็นผู้มีศีล
ประเภทใดว่าเป็นผู้มีปัญญา
บุคคลประเภทใดล่วงทุกข์ได้
เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลประเภทใด